CGSC

Once Upon a Time...

Search
Search ×
Menu
  1. หน้าหลัก
  2. ความภาคภูมิใจ
  3. คุณค่าหลักแห่งสถาบัน
  4. e-Curriculum
  5. หลักสูตร
    1. หลักสูตรหลักประจำ
    2. หลักสูตร นบส.
    3. หลักสูตร ศศ.ม.
    4. หลักสูตร พรส.
    5. หลักสูตรอื่นๆ
    6. งานประกันคุณภาพการศึกษา
  6. คลังตำรา
  7. ข่าวสาร
  8. วีดิทัศน์
  9. ติดต่อเรา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(ความมั่นคงศึกษา)
พ.ศ. ๒๕๕๖

 

๑.    ชื่อหลักสูตร

        หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ความมั่นคงศึกษา)

        Master of Arts Program in Security Studies

๒.    ชื่อปริญญา

ภาษาไทย    :   ชื่อเต็ม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ความมั่นคงศึกษา) : ชื่อย่อ ศศ.ม.(ความมั่นคงศึกษา)

ภาษาอังกฤษ :   ชื่อเต็ม  Master of Arts (Security Studies) : ชื่อย่อ   M.A. (Security Studies)

.   ปรัชญาของหลักสูตร

คนหรือบุคลากรถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาประเทศ  การพัฒนาและยกระดับการศึกษาของบุคลากรจึงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ความมั่นคงศึกษา) มุ่งพัฒนาบุคลากรทั้งในองค์กรภาครัฐ  องค์กรเอกชน  และพลเรือนทุกภาคส่วน  ให้เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการทหารและความมั่นคงของชาติ  เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการประสานงานในการแก้ปัญหาด้านการทหารและความมั่นคงของชาติไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ    

.   วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

       ๕.๑ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หลักสูตรแผน ก  เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

             ๕.๑.๑ มีความรอบรู้ในกิจการทางด้านความมั่นคง ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับโลก

            ๕.๑.๒ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและสามารถพัฒนางานในหน้าที่ ให้ก้าวทันกับบริบททางด้านความมั่นคง และการบริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง

            ๕.๑.๓ มีความสามารถในการวิจัยและการให้คำปรึกษา เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการทหารและความมั่นคงแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ๕.๑.๔  มีภาวะผู้นำที่ดี สามารถพัฒาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตสาธารณะในการให้บริการสังคม

      ๕.๒  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หลักสูตรแผน ข  เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

             ๕.๒.๑  มีความรอบรู้ในกิจการทางด้านความมั่นคง ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและ  ระดับโลก

             ๕.๒.๒ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และสามารถพัฒนางานในหน้าที่ให้ก้าวทันกับบริบททางด้านความมั่นคง และการบริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง

             ..มีความสามารถในการใช้องค์ความรู้ทางด้านการทหารและความมั่นคง นำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา รวมทั้งการให้คำปรึกษาแก่บุคคลากรที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             ..๔  มีภาวะผู้นำที่ดี สามารถพัฒาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตสาธารณะในการให้บริการสังคม

๗.   คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา  ผู้เข้ารับการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มดังนี้คือ

      ๗.๑  ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารระดับสูงในกระทรวงกลาโหม คือผู้ที่สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในหลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ หลักสูตรนายทหารบกอาวุโส หลักสูตรนายทหารเรืออาวุโส หลักสูตรนายทหารอากาศอาวุโส หลักสูตรนายทหารกองบัญชาการทหารสูงสุดอาวุโส หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก  หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ หลักสูตรวิทยาลัยการทัพอากาศ และหลักสูตรวิทยาลัยสนาธิการทหาร หรือหลักสูตรการศึกษาอื่นๆ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ความมั่นคงศึกษา) โรงเรียนเสนาธิการทหารบกกำหนด ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารระดับสูงในกระทรวงกลาโหม เมื่อเข้ารับการศึกษาจะได้รับการเทียบโอนหน่วยกิต บางส่วนตามระเบียบที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกกำหนด ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาในหลักสูตรตามวรรคแรกนี้จะได้รับการเทียบโอนหน่วยกิต เมื่อจบการศึกษาในหลักสูตรแล้วเท่านั้นและมีระดับการวัดผลในรายวิชาได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

     ๗.๒  บุคคลทั่วไป  มีคุณสมบัติดังนี้

            ๗.๒.๑ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง

            ๗.๒.๒  มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี

๘.    วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

       ๘.๑  ผู้สมัครจะต้องผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและสถิติเบื้องต้น ความรู้พื้นฐานทางทหาร ภาษาอังกฤษ และบุคคลทั่วไปตามข้อ ๗.๒ จะต้องสอบสัมภาษณ์ด้วย

       ๘.๒  คณะกรรมการคัดเลือกที่แต่งตั้งโดยโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครที่   ผ่านการทดสอบความรู้ ประสบการณ์ ผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีและความเหมาะสมอื่นๆ เพื่อเข้าเป็นนักศึกษาต่อไป 

๑๐.  ระยะเวลาการศึกษา

       ๑๐.๑  ในระบบการศึกษาแบบทวิภาคใช้เวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างน้อย ๔ ภาคการศึกษาปกติ หรือไม่น้อยกว่า ๒ ปีการศึกษา และอย่างมากไม่เกิน  ๕  ปีการศึกษา โดยนักศึกษาสามารถที่จะเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ให้สำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลา  ๒ ปี แต่ไม่เกิน  ๕  ปีการศึกษา

       ๑๐.๒  การคำนวณระยะเวลาศึกษาของนักศึกษาแต่ละคนให้นับจากวันที่เริ่มเข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรถึงวันที่สอบผ่านวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ขั้นสุดท้าย

 
Copyright 2023 by CGSC Terms Of Use Privacy Statement
Back To Top