CGSC

Once Upon a Time...

Search
Search ×
Menu
  1. หน้าหลัก
  2. ความภาคภูมิใจ
  3. คุณค่าหลักแห่งสถาบัน
  4. e-Curriculum
  5. หลักสูตร
    1. หลักสูตรหลักประจำ
    2. หลักสูตร นบส.
    3. หลักสูตร ศศ.ม.
    4. หลักสูตร พรส.
    5. หลักสูตรอื่นๆ
    6. งานประกันคุณภาพการศึกษา
  6. คลังตำรา
  7. ข่าวสาร
  8. วีดิทัศน์
  9. ติดต่อเรา




 

หลักสูตร การพัฒนาองค์ความรู้การก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ สำหรับผู้บริหาร (พรส.) เล่มที่ ๖

โครงการ"นักวิชาการพบนักรบ จชต."

 

โรงเรียนเสนาธิการทหารบกได้ริเริ่มจัดทำ "โครงการนักวิชาการพบนักรบ จชต." ขึ้นเพื่อให้กำลังพลของกองทัพบกที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีโอกาสรับการเสนอแนะชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิด หลักการที่เหมาะสมกับภัยคุกคาม....  
 
 

นักวิชาการพบนักรบ จชต. พรส.รุ่นที่ ๗  


นักวิชาการพบนักรบ จชต. พรส.รุ่นที่ ๙ 

 
 
 
 

โครงการ "นักวิชาการพบนักรบ จชต."

 

๑. หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โลกได้เข้าสู่ภัยคุกคามในรูปแบบของการก่อความไม่สงบ (Insurgency) อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของประเทศอาณานิคมที่ต้องการปลดแอกเรียกร้องเอกราชจากผู้ปกครองที่เป็นเจ้าอาณานิคมยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในยุคแรกนั้นมีพื้นฐานบนแนวความคิดหลักของ เซอร์โรเบิร์ตทอมป์สันซึ่งเป็นการเอาชนะกบฏคอมมิวนิสต์ในมลายาโดยยึดถือหลักยุทธศาสตร์“การเอาชนะที่จิตใจ (Win Heart and Mind)”เป็นหัวใจของการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบซึ่งได้กลายเป็นหมุดหลักของกองทัพไทยในการนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการต่อสู้เอาชนะภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา และหลังจากนั้นเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเวียดนาม มรดกทางยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในแบบฉบับของสหรัฐฯ อันมี FM 100-20 เป็นคู่มือราชการสนาม กองทัพบกไทยได้นำผนวกกับประสบการณ์และพัฒนาไปสู่การพัฒนาคู่มือราชการสนาม รส.๑๐๐-๒๐ มาประยุกต์ใช้จนนำไปสู่การเอาชนะภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ในท้ายที่สุด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่สองของยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบแต่ในยุคปัจจุบันสภาพแวดล้อมของการก่อความไม่สงบทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและภายในประเทศ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การใช้แนวทางการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอ การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในปัจจุบันอาจถือได้ว่าเป็นการก้าวเข้าสู่ “ยุคใหม่ของยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ”การพัฒนาแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ จึงมีความจำเป็น และต้องได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  ทั้งในส่วนของนักคิดและผู้ลงมือปฏิบัติ

 

จากเหตุการณ์ปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ ๔ เมื่อ ๔ ม.ค. ๒๕๔๗ นับเป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมของขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แสดงเจตจำนงการแบ่งแยกดินแดนอย่างชัดเจนผลของการก่อความไม่สงบได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินเรื่อยมาและมีแนวโน้มที่จะยกระดับรุนแรงต่อไป ในส่วนของกลไกการแก้ปัญหานั้น ถึงแม้ว่าได้มีการดำเนินการทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับยุทธวิธีโดยฝ่ายรัฐบาลและกองทัพเพื่อยุติปัญหาโดยเร็วที่สุด แต่พบว่ารูปแบบของการก่อความไม่สงบที่เผชิญอยู่นั้นได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ยุทธศาสตร์และองค์ความรู้แบบเดิมที่เคยประสบผลสำเร็จในอดีตอาจไม่เพียงพอต่อการเอาชนะการก่อความไม่สงบที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน องค์ความรู้ใหม่จึงต้องได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและต้องนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนอย่างสอดรับกัน ทั้งนี้นักคิด นักวิชาการ จำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักนิยมแล%






Copyright 2023 by CGSC Terms Of Use Privacy Statement
Back To Top