CGSC

Once Upon a Time...

Search
Search ×
Menu
  1. หน้าหลัก
  2. ความภาคภูมิใจ
  3. คุณค่าหลักแห่งสถาบัน
  4. e-Curriculum
  5. หลักสูตร
    1. หลักสูตรหลักประจำ
    2. หลักสูตร นบส.
    3. หลักสูตร ศศ.ม.
    4. หลักสูตร พรส.
    5. หลักสูตรอื่นๆ
    6. งานประกันคุณภาพการศึกษา
  6. คลังตำรา
  7. ข่าวสาร
  8. วีดิทัศน์
  9. ติดต่อเรา




 

หลักสูตร การพัฒนาองค์ความรู้การก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ สำหรับผู้บริหาร (พรส.) เล่มที่ ๗

มรดกทางความคิด

 

ด้วยสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของโลกปัจจุบัน มีมิติที่ถูกครอบงำจาก “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย (Global War on Terror)” ที่ส่งผลกระทบเชื่อมโยงในทุกระดับ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับชาติ ทั้งยังก่อให้เกิดกระแสการก่อความไม่สงบปะทุขึ้นตามจุดต่างๆ ของโลก ซึ่งประเทศไทยก็ตกอยู่ภายใต้บริบทดังกล่าวด้วย โดยที่ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกรณีศึกษาที่ต้องการความรู้ ความเข้าใจ ในความเชื่อมโยงขององค์ความรู้ ระหว่างการก่อการร้าย และการก่อความไม่สงบในสภาพแวดล้อมของสังคมแบบไทยๆ 

 
ดาวน์โหลดเอกสาร
 
 
 
 

บทนำ
โครงการจัดการองค์ความรู้

การพัฒนาองค์ความรู้การก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบสำหรับผู้บริหาร (พรส.)

๑. หลักการและเหตุผล

         ๑.๑ การจัดการความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกจะต้องดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ของกองทัพบก ที่ต้องการให้โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ให้ได้ใน    พ.ศ.๒๕๖๔  ทั้งนี้แผนงานการจัดการความรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกได้แบ่งออกเป็น ๓ ห้วง โดยอาศัยแผนการจัดการความรู้จำนวน ๓ ฉบับ คือ

                ๑) แผนการจัดการความรู้ พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรโรงเรียนเสนาธิการทหารบกให้ยอมรับเอาการจัดการความรู้ไปใช้ปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตนด้วยความสมัครใจ

                ๒) แผนการจัดการความรู้ พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้หลักที่จำเป็นต้องมีของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกให้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

                ๓) แผนการจัดการความรู้ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้หลักที่เหลืออยู่ทั้งหมดให้เป็นที่เชิงประจักษ์ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

 

         ๑.๒ ขอบเขตการจัดการความรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

                ๑) ความรู้ทางทหารเพื่อใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร

                ๒) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารและการจัดการการศึกษาเชิงคุณภาพ

                ๓) ความรู้เกี่ยวกับการยกระดับและมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน

                ๔) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของคณาจารย์ ข้าราชการ และลูกจ้าง

                ๕) ความรู้เกี่ยวกับการบริการวิชาการทางทหารที่มีคุณภาพแก่สังคม และสนองความต้องการของกองทัพและประชาชน

 

            ๑.๓ นโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ให้ทุกหน่วยขึ้นตรงของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกจัดทำแผนการจัดการความรู้ของหน่วยขึ้นตรง โดยเสนอโครงการเพื่อการพัฒนาความรู้ที่จำเป็นต้องมีของหน่วยตามที่ระบุและจัดลำดับความเร่งด่วนไว้ต่อโรงเรียนเสนาธิการทหารบก โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นไป

            ภายใต้กรอบนโยบายและแผนงานของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกในด้านการจัดการความรู้ ส่วนวิชาการปฏิบัติการพิเศษในฐานะหน่วยขึ้นตรง ได้จัดทำโครงการจัดการแผนการจัดการความรู้ด้านการก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ โดยมีความเชื่อมโยงกับหลักสูตรการพัฒนาองค์ความรู้การก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ สำหรับผู้บริหาร(พรส.) ซึ่งหลักสูตรฯ ดำเนินการครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ และเป็นหลักสูตรที่ถูกบรรจุในงบงานการศึกษาตามหลักสูตรประจำปีของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ที่เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ตามคำสั่งกองทัพบก ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลักสูตรฯ สอดคล้องกับขอบเขตและวัตถุประสงค์การจัดการความรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกที่กำหนดไว้

 

๒. วัตถุประสงค์

            ๒.๑ เพื่อใช้กระบวนการจัดการความรู้ด้านการก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาส่วนวิชาการปฏิบัติการพิเศษ ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

            ๒.๒ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปลูกฝังแนวคิดใหม่ให้กับคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของส่วนวิชาการปฏิบัติการพิเศษ ให้ยอมรับเอากระบวนการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

            ๒.๓ เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของส่วนวิชาการปฏิบัติการพิเศษ ได้มีโอกาสถ่ายทอด แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันให้มากที่สุดและอย่างต่อเนื่อง

            ๒.๔ เพื่อถ่ายโอนความรู้ที่ติดอยู่กับตัวคณาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษาของส่วนวิชาการปฏิบัติการพิเศษให้มาอยู่ในรูปแบบเชิงประจักษ์มากที่สุด

            ๒.๕ เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ และพัฒนาความรู้เดิมให้ทันสมัย และให้คณาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษาของส่วนวิชาการปฏิบัติการพิเศษสามารถก้าวทันวิทยาการทางด้านการก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบอยู่ตลอดเวลา

            ๒.๖ เพื่อให้ส่วนวิชาการปฏิบัติการพิเศษมีวัฒนธรรมการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ตามแผนการจัดการความรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก �%9



Copyright 2023 by CGSC Terms Of Use Privacy Statement
Back To Top